เกร็ดเล็กน้อย
สำหรับการเช็คเครื่องปรับอากาศมีปัญหาด้วยตนเอง
1. แอร์ห่วยๆอยู่ดีๆ ก็มีน้ำหยด
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับแอร์กันก่อน เนื่องจากแอร์นั้นจะผลิตลมเย็นเพื่อเป่าออกมา ดังนั้น จึงมีการระเหยของไอเย็นภายใน ทำให้เกิดเป็นน้ำขึ้นมา
ซึ่งโดยปกติแล้ว แอร์จะมีน้ำที่เกิดจากการระเหยนี้ไหลออกมาตลอดเวลาอยู่แล้ว ถือเป็นอาการที่ดี ซึ่งแสดงว่าแอร์ของเรามีความชื้นสูง
เพราะหน้าที่ของมันคือการดูดซับความชื้นออกจากห้องที่เราอยู่
แต่หากมีน้ำหยดมากจนเกินไป อาจเกิดจากท่อน้ำตันเพราะสิ่งสกปรก
2. แอร์มีปัญหา แอร์ไม่เย็นดั่งใจเราเลย
เมื่อแอร์เย็นไม่ได้ดั่งใจเรา
ปัญหาหลักๆ ที่มักพบก็คือ การขาดการเติมน้ำยาแอร์มาเป็นเวลานาน ซึ่งจริงๆ
แล้วเราควรเติมน้ำยาแอร์ปีละ 2 ครั้ง
แต่ก็อย่าลืมนึกถึงปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่นห้องอาจมีขนาดใหญ่เกินกำลังของเครื่อง
อากาศภายนอกห้องร้อนมากๆ คอมเพรสเซอร์ไม่มีกำลังมากพอ
หรืออาจเกิดจากมีสิ่งสกปรกมากมายติดอยู่อยู่ภายใน
ทำให้แอร์ทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรไม่เย็นดั่งใจเรา
จึงคิดว่าแอร์เกิดอาการห่วยขึ้นมาอีกแล้ว ยังไงก็ควรตรวจสอบเบื้องต้นก่อนนะ
3. แอร์ห่วย แอร์เสียงดัง น่ารำคาญ
เสียงภายในแอร์นั้น
หากเป็นแอร์ที่ผ่านการใช้งานมานาน อาจเกิดจากโครงสร้างที่เสื่อมสภาพ
อุปกรณ์ภายในชำรุด หรืออาจมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปติดอยู่ภายใน เช่น
แมลงหรือฝุ่นต่างๆ ทางที่ดี เราควรเรียกช่างมาตรวจเช็คสภาพแอร์
4. แอร์ห่วยกินไฟเกินไปหรือเปล่า
หากเราได้ตรวจสอบว่าเดือนไหนที่เราใช้แอร์
แล้วค่าไฟเพิ่มผิดปกติ สาเหตุอาจจะมาจากแอร์ตัวเก่งของเราเองนั่นแหละ
หากเราไม่ได้ทำการดูแลรักษามันมาอย่างยาวนานพอสมควร
ก็คงถึงเวลาที่จะต้องทำการตรวจเช็คว่า
ระบบแอร์ของเรานั้นยังทำงานปกติอยู่หรือเปล่า
5. น้ำแข็งเกาะแอร์
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำแข็งเกาะนั้นก็คือ
น้ำยาแอร์มีการรั่วซึมเกิดขึ้น ทำให้ระบบมีน้ำยาแอร์น้อยเกินไป
หรืออาจจะเกิดจากมอเตอร์ไม่มีแรงหมุนมากพอ เพราะฉะนั้น
ต้องทำการเช็คท่อน้ำยาแอร์ให้ดี
6. เปิดแอร์ปุ๊บไฟดับปั๊บ
หากเรากำลังรู้สึกร้อน
แต่เมื่อเข้าบ้านมาแล้วเปิดแอร์ แต่ดันไฟตกทั้งบ้าน
คงเพิ่มความหงุดหงิดให้เราไม่น้อย ดังนั้น สิ่งที่เราต้องป้องกันนั่นก็คือ
การตรวจเช็คว่าสายไฟชำรุดหรือหลวม
กำลังไฟฟ้าไม่พอเนื่องจากเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟหลายตัวในเวลาเดียวกัน
หรืออาจเกิดจากคอมเพรสเซอร์เสื่อมก็เป็นได้
และนี่ก็เป็นอาการเบื้องต้น
ที่เราทุกคนสามารถสังเกตเครื่องปรับอากาศของเราได้เองง่ายๆ หากมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น
ก็ขอให้โทรเรียกช่างมาซ่อมทันที
No comments:
Post a Comment